มาคำนวณภาษีปีนี้กัน



สรรพากรแจง​ยิบ ห่วงยื่​นแบบเสียภาษี สามี-ภริยา​ผิดพลาด



สรรพากรแจง​ยิบห่วงยื่​นแบบฯ สามี-ภริยา​ผิดพลาด เกรงนำรายได้​ตลอดทั้งปี​มายื่นคำนว​ณเสียภาษีไม่​ครบถ้วน
           ปีภาษี 2555 เป็นปีแรกที่กรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยา ให้ต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษี  ต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากกัน และแบ่งเงินได้พึงประเมินที่สามีและภริยาทำร่วมกัน หรือสามีและภริยาจะตกลงเลือกยื่นรายการและเสียภาษีรวมกันก็ได้

          กรณีเงินได้พึงประเมินที่ไม่อาจแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นของสามีหรือภริยาฝ่ายละจำนวนเท่าใดตามมาตรา 40(2) - 40(8) ให้แบ่งสัดส่วนคนละ 50% ของเงินได้ประเภทนั้น เฉพาะเงินได้ตามมาตรา 40 (8) จากการขายสินค้า การพาณิชย์ การขนส่ง ฯลฯ ให้สามีภรรยาเลือกแบ่งเป็นของแต่ละฝ่ายตามส่วนที่ตกลงกันก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่น้อยกว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้แบ่งกันฝ่ายละกึ่ง ส่วนสิทธิประโยชน์ที่สามีภริยาได้รับเพิ่ม กรณีการหักค่าลดหย่อน มี 3 รายการ คือ ค่าลดหย่อนบุตรได้คนละ  15,000 บาท ค่าลดหย่อนการศึกษาบุตรได้คนละ  2,000 บาท และค่าลดหย่อนดอกเบี้ยกู้ยืมซื้อที่อยู่อาศัย สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างกู้ยืม    มีเงินได้ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างฝ่ายหักได้คนละ 100,000 บาท

          นางจิตรมณี  สุวรรณพูล ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษีในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า   ขณะนี้ถึงกำหนดเวลาของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 สำหรับปีภาษี 2555 สามารถยื่นแบบกระดาษได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2556 ส่วนการยื่นแบบฯ ทางอินเทอร์เน็ตสามารถยื่นแบบฯ ได้ถึงวันอังคารที่ 9 เมษายน 2556 ทั้งนี้ กรมสรรพากรขอเชิญชวนให้ผู้เสียภาษียื่นแบบฯ ทางอินเทอร์เน็ตเป็นบริการที่สะดวก รวดเร็ว ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด และเพิ่มช่องทางการชำระภาษีด้วยบัตรเครดิตของธนาคารที่ร่วมโครงการ ซึ่งผู้เสียภาษีจะได้รับสิทธิขยายเวลาการจ่ายเงินสดออกไปอีก 45 - 51 วัน เป็นการเสริมสภาพคล่องเงินสดและช่วยการวางแผนการใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่งด้วย


“ในการกรอกแบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 พบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นประจำ คือ การนำรายได้ตลอดทั้งปีมายื่นคำนวณเสียภาษีไม่ครบถ้วนทั้งจำนวนที่ได้รับมาจริง ซึ่งกรมฯ สามารถตรวจสอบได้จากการหักภาษี ณ ที่จ่ายของผู้จ่ายเงินได้ ผู้เสียภาษีจึงควรเก็บหลักฐานหนังสือรับรอง      การหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้  ส่วนการหักค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดู บิดา-มารดา โดยเฉพาะบิดามารดาที่มีบุตรหลายคน กรมฯ ให้สิทธิแก่บุตรเพียงคนเดียว ซึ่งข้อผิดพลาดเหล่านี้อาจทำให้ผู้เสียภาษีถูกเรียกเก็บเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนได้  เนื่องจากการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นการให้สิทธิผู้เสียภาษีประเมินรายได้ที่จะต้องนำส่งเงินภาษีให้แก่รัฐด้วยตนเอง”โฆษกกรมสรรพากรกล่าว



กรมสรรพากรผ่อนปรนให้ใช้เลขประจำตัว
ผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก ได้ถึงวันที่ 31 ก.ค.56

updated: 01 ก.พ. 2556 เวลา 10:30:02 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ตามที่กรมสรรพากรได้กำหนดให้ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก และขยายเวลาให้ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2556 นั้น
      เนื่องจากมีผู้ประกอบการจดทะเบียนจำนวนมากแจ้งว่า มีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก เหลืออยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายและช่วยเหลือผู้ประกอบการ จึงขยายระยะเวลาการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 ทั้งนี้ กรมสรรพากรจะมีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการปฏิบัติแจ้งให้ทราบต่อไป



                                       
                          ฐานภาษีที่ใช้ถึงปีภาษี 55

          
มาดูตัวตัวอย่างการคำนวณแบบย่อแต่ตรงครับ
   นส.A เงินเดือน 20,000 บาท โสด เฉยๆ ไม่มีประกันสังคม ไม่มีประกันชีวิต ไม่มีบิดามารดาอายุ>60 ไม่มีดอกเบี้ยบ้าน ไม่มีสามี ไม่มีบุตร ไม่มี กสช.ไม่โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ได้บริจาควัด
      คำนวณ    เงินได้พึงประเมิน 240,000 บาท
      1. หักค่าใช้จ่าย 40%ไม่เกิน 60,000 บาท = 60,000 เหลือ 180,000 บาท
      2.หักค่าลดหย่อน 2.1 ส่วนตัว 30,000 คู่สมรส 30,000 = 30,000 เหลือ 150,000 บาท
                       2.2 ค่าลดหย่อนบุตร ประกันสังคม กบข ประกันชีวิต ประกันบำนาญ ดอกเบี้ยเช่าซื้อ ประกันสุขภาพบิดามารดา rmf ltf กสช บริจาค
      3. เข้าสูตร 0-500,000 เสีย 10% แต่ ครม.มีมติแยกคนที่รายได้ 0-150,000 ไม่ต้องเสียภาษีถ้าเสียไปแล้วหรือหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้วก็ขอคืนได้ ถ้ามีเงินได้สุทธิเกินนั้นถึงจะเสีย = 150,000-150,000 = 0 บาท
       สรุป ภาษี = 0 บาท คือไม่ได้เสียภาษี นั่นเอง ถ้ามีค่าลดหย่อนมาเพิ่มอีกยิ่งไม่ได้เสีย แต่กลับจะได้คืนกรณีหักไว้ระหว่างปีครับ
           ฟันธง เงินเดือน 20,000 บาท ไม่ได้เสียภาษี
                                   
                              มาดูฐานภาษีใหม่กันครับ

ภาษีใหม่ ช่วยเอื้อประโยชน์มนุษย์เงินเดือน รับเต็มๆส่วนลดมากถึง 50% คำนวณฐานภาษีใหม่ แบ่งย่อยขั้นภาษีเพิ่มขึ้น

นับว่าเป็นโอกาสที่ดี ของประชาชนผู้เสียภาษี จากกรณีที่ นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมครม. เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยให้ลดอัตราการจัดเก็บภาษีจากเดิมที่กำหนดไว้สูงสุดที่ 37% เป็น 35% พร้อมทั้งปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยา ให้สามารถยื่นรายการและเสียภาษีรวมกันหรือแยกต่างหากจากคู่สมรสได้ ขณะเดียวกันได้เห็นชอบให้ปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ โดยให้คิดตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และยังเห็นชอบขยายเวลาปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลต่อไปอีก 1 เดือนถึง 31 ม.ค.56 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน
ซึ่งการดำเนินการทั้งหมด โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และปรับการจัดเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยา ส่งผลให้รัฐสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีในปี 56 ถึง 3.2 หมื่นล้านบาท ส่วนปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ทำให้ภายในปี 59 รัฐจะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้น 25,639 ล้านบาท ขณะที่การปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากการจัด เก็บภาษีสรรพสามิต 9,000 ล้านบาทต่อเดือน

ทั้งนี้ ตามข้อมูลการคิดภาษีใหม่ กรมสรรพากร ก็ได้เสนอให้ปรับอัตราการเก็บภาษีบุคคลธรรมดาใหม่ หลังหักรายจ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว โดยให้มีช่วงความถี่มากขึ้น แยกเป็นขั้นๆ ดังนี้
           ขั้นที่ 1 รายได้ 0-150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษีตามเดิม
     ขั้นที่ 2 รายได้ 150,001-300,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 10% ปรับใหม่เป็นเสียภาษี 5%
           ขั้นที่ 3 รายได้ 300,001-500,000 บาท เสียภาษี 10% ตามเดิม
      ขั้นที่ 4 รายได้ 500,001-750,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 20% ปรับใหม่เป็นเสียภาษี 15%
           ขั้นที่ 5 รายได้ 750,001-1,000,000 บาท เสียภาษี 20% ตามเดิม
           ขั้นที่ 6 รายได้ 1,000,001-2,000,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 30% ปรับใหม่เป็น 25%
           ขั้นที่ 7 รายได้ 2,000,001-4,000,000 บาท เสียภาษี 30% ตามเดิม
           ส่วน รายได้ตั้งแต่ 4,000,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 37% ปรับใหม่เป็นเสียภาษี 35%

ทั้งนี้ การคำนวณภาษี จะแบ่งคำนวณเป็นขั้นบันได้ แล้วบวกทบกันไป เช่น มีรายได้ 1 ล้านบาทต่อปี
เริ่มจาก 150,000 บาทแรก ไม่ต้องเสีย
มาเริ่มขั้นที่ 2 150,000 – 300,000 บาท จากเดิม 10% เป็นเงิน 15,000 บาท แบบใหม่ เสีย 5% เท่ากับ 7,500 บาท
บวกด้วยส่วนต่างในขั้น 300,000 – 500,000 บาท จำนวนเงิน 200,000 บาท ก็เสียในอัตรา 10% เท่ากับ 20,000 บาท
ตามด้วยขั้นที่ 4 รายได้ 500,001-750,000 บาท จากส่วนต่าง 250,000 บาท เดิมเสียภาษี 20% ปรับใหม่เป็นเสียภาษี 15% เป็นเงิน 37,500 บาท
สุดท้ายคิดขั้นที่ 5 รายได้ 750,001-1,000,000 บาท เสียภาษี 20% ตามเดิม เป็นเงินอีก 50,000 บาท

รวมการเสียรูปแบบใหม่ เป็นเงิน 115,000 บาท สำหรับผู้ที่มีรายได้ 1 ล้านบาทต่อปี หรือมีเงินเดือนประมาณ 83,000 บาท ขณะที่ หากคิดภาษีแบบเดิมที่รายได้ 1 ล้านบาทต่อปี จะต้องเสียภาษี อยู่ที่ 135,000 บาท เท่ากับว่าฐานภาษีลดลงไป 20,000 บาท

แต่หากมีรายได้ประมาณ  240,000 บาทต่อปี หรือ 20,000 บาทต่อเดือน จากเดิมฐานภาษีจะตกปีละ 9,000 บาท แต่ในฐานภาษีระบบใหม่ จะเหลือเพียง 4,500 บาท เท่ากับว่า ประหยัดไปได้ถึง 50% คิดเป็นเม็ดเงินก็ถึง 4,500 บาท

ทั้งนี้ การคำนวณภาษีดังกล่าว ยังไม่รวมการหักลดหย่อนต่าง ไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิต ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน LTF/RMF ลดหย่อนบุตร บุพการี ประกันสังคม และสิทธลดหย่อนอื่น เป็นต้น

การปรับโครงสร้างอัตราภาษีใหม่นี้ จะช่วยแบ่งเบาภาระให้ผู้เสียภาษี และสร้างความเป็นธรรมให้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท แม้ว่าจะทำให้กรมสรรพากรสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีถึงปีละ 2.7 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวต้องมีการเสนอแก้ไขกฎหมายประมวลรัษฎากรของกรมสรรพากรไปยังสภาผู้แทนราษฎรเสียก่อน จึงจะสามารถทำได้ ซึ่งต้องใช้เวลาดำเนินการนาน โดยคาดว่าในปีภาษี 2556 ที่จะยื่นเสียภาษีในปี 2557 ถึงจะได้ใช้ฐานภาษีรูปแบบใหม่  


 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | Lady Gaga, Salman Khan