ยูนิตลิงค์ต่างจากกรมธรรม์ประกันชีวิตทั่วๆไปอย่างไร?
กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน หรือ ยูนิตลิงค์ (unit link) คือ กรมธรรม์ประกันชีวิต
รูปแบบหนึ่งที่เชื่อมโยงกับการลงทุนในกองทุนรวม โดยแบ่งโครงสร้างเป็น 2 ส่วน
ได้แก่ ส่วนการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครอง ตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิต
ซึ่งเงินลงทุนส่วนนี้ บริษัทประกันชีวิตเป็นผู้รับผิดชอบ และส่วนการลงทุน
ซึ่งจะนำเบี้ยประกันชีวิตส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าประกันภัยและค่าใช้จ่ายอื่นๆ
แล้วไปซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่บริหารโดย บลจ.
ตามที่ผู้เอาประกัน/ผู้ลงทุนเลือกไว้
รูปแบบหนึ่งที่เชื่อมโยงกับการลงทุนในกองทุนรวม โดยแบ่งโครงสร้างเป็น 2 ส่วน
ได้แก่ ส่วนการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครอง ตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิต
ซึ่งเงินลงทุนส่วนนี้ บริษัทประกันชีวิตเป็นผู้รับผิดชอบ และส่วนการลงทุน
ซึ่งจะนำเบี้ยประกันชีวิตส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าประกันภัยและค่าใช้จ่ายอื่นๆ
แล้วไปซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่บริหารโดย บลจ.
ตามที่ผู้เอาประกัน/ผู้ลงทุนเลือกไว้
ยูนิตลิงค์ต่างจากกรมธรรม์ประกันชีวิตทั่วๆไปอย่างไร?
ต่างกันตรงที่ผู้เอาประกัน/ผู้ลงทุนสามารถกำหนดสัดส่วนการลงทุนในกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมาย
การลงทุนและความสามารถในการรับความเสี่ยง และข้อจำกัดอื่นๆของตนเองได้ โดยสามารถแบ่งเงินไปลงทุนในกองทุนรวมหลากหลาย
ประเภทได้ภายใต้กรมธรรม์เดียวกัน จากเดิมที่บริษัทประกันจะเป็นผู้กำหนดกลยุทธ์ในการบริหารการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามอัตรา
ที่ตกลงไว้ในสัญญาประกันชีวิต (แบบสะสมทรัพย์)
เหมาะกับใคร?
ด้วยการรวมเอากรมธรรม์ประกันชีวิตเข้าไว้ด้วยกันกับการลงทุนในกองทุนรวม ยูนิตลิงค์จึงเป็นอีกช่องทางการลงทุนหนึ่งที่เหมาะ
สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการได้รับความคุ้มครองชีวิตไปพร้อมๆกับโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวม
ซึ่งยูนิตลิงค์สามารถตอบโจทย์หรือวัตถุประสงค์ของผู้ลงทุนได้ดังนี้
โอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น – ผู้ลงทุนสามารถกำหนดนโยบายการลงทุนได้เองตามระดับความสามารถในการยอมรับ ความเสี่ยงของตน ผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้มากอาจเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กองทุนรวมตราสารทุน เพื่อให้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น
มีความยืดหยุ่น – ส่วนของเงินลงทุนสามารถแบ่งไปลงทุนในกองทุนรวมได้หลากหลายนโยบายภายใต้กรมธรรม์เดียวกัน
เช่น กองทุนรวมตราสารทุน กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมผสม ฯลฯ จึงช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้ อีกทั้งอาจ มีการเปิดโอกาสให้สามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนได้ตามระยะเวลาที่บริษัทประกันกำหนด
มีสภาพคล่อง – ส่วนของเงินลงทุนแยกออกมาจากส่วนการประกันชีวิตอย่างชัดเจนและนำไปลงทุนในกองทุนรวม ผู้ลงทุนจึง สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ หากมีความจำเป็นต้องใช้เงิน นอกจากนี้ บริษัทประกันชีวิตอาจมีระบบในการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ เพื่อนำเงินมาชำระเป็นค่าการประกันภัย (Cost of insurance) และค่าธรรมเนียม ในแต่ละเดือน
อย่างนี้...?สมควรที่เราจะไปสอบICให้ได้หรือยัง?
ขอบคุณข้อมูลจาก กลต.
หมอประกัน